วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อความยั่งยืน

การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อความยั่งยืน

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความยั่งยืน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามยุคตามสมัย นักนิเทศที่ดีจะต้องศึกษาบทบาทหน้าที่ทั้งของตนเองและบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ในบริบทของสถานศึกษาที่จะไปนิเทศ ติดตาม ในการดำเนินงานของสถานศึกษานั้นๆ  การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาจะให้เกิดความยั่งยืนทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือเป็นเอกภาพ โดยมีความเอาใจใส่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน ไม่ยึดติดกับตัวบุคคล หรือสถานที่ เวลา  จำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญ
การนิเทศ ติดตาม ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อความยั่งยืน เริ่มจากการสอบถาม สัมภาษณ์
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียของสถานศึกษานั้นๆ  ว่ามีความต้องการให้สถานศึกษาดำเนินงานไปในทิศทางใด เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้ร่วมกันประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อน แต่ผลที่จะเกิดขึ้นในสถานศึกษาจะต้องส่งผลการพัฒนาทั้งคุณภาพการศึกษาสู่สถานศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีผลการเรียนที่สูงขึ้น
          การนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษา
               การนิเทศการศึกษาเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการดำเนินงาน  การเป็นศาสตร์นั้น การนิเทศการศึกษามาจากเหตุและผล โดยใช้หลักการแนวคิด ทฤษฏีที่ผ่านการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับแล้วมาใช้แก้ปัญหานั้น ๆ ได้ วิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา การนิเทศการศึกษาต้องอาศัยความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์  กระบวนการ  วิธีการหลาย ๆอย่างประกอบกันทั้งด้านจังหวะ  เวลา   กาลเทศะ  สิ่งแวดล้อม  ประกอบเข้าด้วยกันจึงทำให้การนิเทศประสบผลสำเร็จ  การนิเทศการศึกษาจึงเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกัน
               การนิเทศติดตามเป็นขั้นตอนหนึ่งและเป็นขั้นตอนสำคัญในการบริหารงานการนิเทศจะช่วยแก้ไขปรับปรุงส่วนที่บกพร่องให้มีการพัฒนา  ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับครู นักเรียนจึงย่อมทราบปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าคนภายนอก  เพราะฉะนั้นการนิเทศภายในโรงเรียนจะสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของบุคลากรในโรงเรียนได้อย่างดี
                บุคคลที่ทำหน้าที่นิเทศ เรียกว่า Supervision ภารกิจหรือหน้าที่ของผู้นิเทศ คือ ให้การนิเทศ หรือ Supervise ได้แก่ การช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แจง ปรับปรุง เพื่อช่วยให้บุคลากรภายใต้ความรับผิดชอบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังเผชิญอยู่ให้ลุล่วงไปด้วยดี รวมทั้งพัฒนางานที่บุคลากรกำลังปฏิบัติอยู่ ให้มีวิธีที่เหมาะสม มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
นักการศึกษาหลายท่านทั้งนักการศึกษาของไทยและต่างประเทศให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้หลายแนวคิด  ที่น่าสนใจและนำมาศึกษามีดังนี้

             สมบัติ   จันทรเกษม ( 2534 ) ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศ ( supervision ) แปลว่า  การให้คำช่วยเหลือ  แนะนำ  หรือปรับปรุง สอดคล้องกับความหมายของ  เมตต์  เมตต์การุณจิต ( 2543 )ที่กล่าวว่าการนิเทศคือการให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความช่วยเหลือต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
              สาย   ภาณุรัตน์ (2517 : 25)   กล่าวไว้ว่า    การนิเทศการศึกษาคือการช่วยเหลือให้ครูเติบโต พึ่งตนเองได้  แล้วนำผู้ที่พึ่งตนเองได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม  นั่นคือการนิเทศเพื่อไม่ต้องนิเทศ
                สงัด   อุทรานันท์ (2529 : 7)    ให้ความหมายไว้ว่า การนิเทศการศึกษาคือกระบวนการทำงานร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา      เพื่อให้ได้มาซึ่งสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนของนักเรียน
                สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 1)     นิยามความหมายไว้ว่าการนิเทศการศึกษาคือการที่ผู้นิเทศใช้กระบวนการ กระตุ้น  ยั่วยุ  ท้าทาย  ริเริ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ สนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนตามความจำเป็นของการพัฒนาโดยผ่านครูและผู้บริหารโรงเรียน
                ไวลส์ (Wiles. 1967 : 6) ให้ความเห็นไว้ว่า      การนิเทศการศึกษาเป็นความช่วยเหลือในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น         ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของ เอลสบรี (Elsbree. 1967 : 139) ที่ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่า การนิเทศการศึกษาคือกระบวนการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

                จากความหมายของการนิเทศการศึกษาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า  มีความแตกต่างกันและไม่มีข้อจำกัดที่แน่นอนตายตัว      ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของการศึกษา   จุดมุ่งหมายและแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละยุคแต่ละสมัยแต่ก็สรุปได้ว่าการนิเทศการศึกษาคือกระบวนการในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเป็นความพยายามที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือ เกี่ยวกับการปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนของครูให้ดีขึ้น 

อาหารกลางวันกับความหวังของเด็ก...ผู้ยากไร้..


                       คงมีเหตุการณ์ที่ท่านศึกษานิเทศก์ทุกท่านประสบพบเจอเมื่อตัวเราหรือคณะนิเทศก์ออกเยี่ยมโรงเรียน  ตอนเที่ยงของทุกวันเราจะพบนักเรียนทานอาหาร โรงเรียนจะจัดอาหารกลางวันให้กับนักเรียนบางโรงเรียนก็ต้องอาศัยนักเรียนในการเตรียมอาหารกลางวัน นักเรียนน้อยงบประมาณก็น้อย
เป็นไปตามจำนวนของนักเรียน การจัดอาหารกลางวันให้กับเด็กในโรงเรียน  โรงเรียนจัดให้ได้แค่อาหาร
เท่านั้น นักเรียนจะต้องเตรียมข้าวมาจากบ้าน...เด็กส่วนใหญ่่จะห่อข้าวมาจากบ้านความหวังของเขาคืออาหารที่คุณครูเตรียมให้เขาในวันนี้..แต่เราเคยสังเกตบ้างไหมว่า..ยังมีเด็กนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่คอยความหวังอาหารหลางวันจากโรงเรียน..ในเมื่อที่บ้านของเขาน้ัน  ยามเช้าเขาอาจจะไม่ได้ทานอาหารมาจากบ้าน..ด้วยสภาพที่แตกต่างกันของครอบครัว...ความสมบูรณ์ของครอบครัว..บางคน
ขาดพ่อแม่ที่ดูแลต้องอยู่กับตายาย..เคยพบนักเรียนที่ไม่มีพ่อแม่ต้องอยู่กันระหว่างพี่น้อง..อนาคตแทบ
มองไม่เห็น...ฝากโรงเรียนฝากคุณครูให้ช่วยกันดูแล...อย่างน้อยก็ยังมีความหวังที่โรงเรียน...ความหวังที่จะได้อิ่มท้องสักมื้อกับ...อาหารกลางวันของโรงเรียนนั้นเอง...

ประวัติส่วนตัว


          ประวัติส่วนตัว  นายธวัชชัย  นวลศรี
เกิดวันเสาร์ที่  ๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๗
ปัจจุบันอายุ  ๔๐  ปี
ภูมิลำเนา  บ้านเลขที่  ๑๐๐/๒  หมู่ ๑ ต.ท่าไห  อ.เขื่องใน  จ.อุบลราชธานี
ที่อยู่ปัจจุบัน ๓/๓  ถนนสถิตย์นิมานการ ต.พิบูล  อ.พิบูลฯ จ.อุบลราชธานี
การศึกษา  
  ปี ๒๕๔๐  จบปริญญาตรี  จากสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี วิชาเอก  วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  ปี ๒๕๔๗  จบปริญญาโท  จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   สาขาวิชา  การบริหารการศึกษา  

การใช้ Google apps Education เพื่อการสอน

วันนี้ได้เข้ารับการอบรมศึกษานิเทศก์ หลักสูตรไอซีทีเพื่อพัฒนาการนิเทศ ระหว่างวันที่ 24-26 มิ.ย.2557  ณ  โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ ได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย โดยเฉพาะมีโอกาสได้รับฟังแนวคิดการใช้ Google Apps Education จากผู้จัดการโครงการของ Google ตัวจริงเสียงจริง ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละท่านจะนำความรู้ไปสานต่อในเขตพื้นที่ได้มาน้อยเพียงใด



เทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
 
        ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์สื่อทางสังคม (Social Media) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ผู้คนจากทั่วทุกมุมของโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างสะดวกเพื่อการดำเนินกิจกรรมทางออนไลน์ร่วมกันกับเครือข่ายสังคมของตนเอง ปรากฎการณ์เช่นนี้ได้ส่งผลให้ผู้คนเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานด้วยการร่วมมือกับผู้อื่นมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการออกแบบวัฒนธรรมการเรียนการสอนที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผ่านปรัชญาของการ สอนน้อย แต่เรียนรู้ให้มาก กล่าวคือ การที่ครูเป็นโค้ชหรือเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอันทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะของการใฝ่รู้และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
       อย่างไรก็ตามจุดผลิกผันทางการศึกษาในครั้งนี้ของประเทศไทย จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพและใช้งานได้ง่ายและสะดวก ห้องเรียนออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เปรียบเสมือน นาวาปัญญา หรือเรือข้ามฟากที่จะนำพาเยาวชนไทยค่อยๆ ก้าวข้ามผ่านระบบการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ไปยังศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ห้องเรียนออนไลน์ (Learning Management Syste) ที่พัฒนาขึ้นจากบริการของ Google Sites ที่สามารถรองรับรูปแบบจัดการการศึกษาของไทยและมุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นและใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้อย่างสะดวก เนื่องจากสามารถใช้งานได้ง่าย เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต อีกทั้งผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งและดูแลเว็บไซต์และเครื่องแม่ข่ายเอง  คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มคนในวัยเรียนเป็นผู้ใช้งานโลกออนไลน์มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง และในช่วงปีที่ผ่านมานี้เองที่เหล่าอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเองก็หาทางใช้ประโยชน์จากโลกสังคมออนไลน์ในการเรียนการสอนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การสั่งการบ้าน วิจารณ์งาน ก็ทำได้สะดวกรวดเร็ว เอกสารการสอนก็สามารถเลือกดาวน์โหลดได้เลย
       ในปัจจุบัน โลกของอินเทอร์เน็ตกลายเป็น Distance Learning คงต้องขอบคุณสังคมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น YouTube ที่ทำให้เราสามารถถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ทแบบง่ายๆ เพียงแค่มีกล้อง Web Cam  หากจะกล่าวว่า อินเทอร์เน็ต เป็น Ocean of Content หรือ เป็นมหาสมุทรของแหล่งข้อมูลคงไม่ผิด แต่ด้วยความที่มหาสมุทรแห่งนี้กว้างใหญ่และลึกขึ้นทุกวันๆ การจะค้นหาให้เจอข้อมูลที่ดีที่เหมาะสมก็ยากขึ้นด้วย สังคมออนไลน์จะมีส่วนช่วยในเรื่องการกรองข้อมูลเบื้องต้นให้เรา การค้นหาข้อมูลทำงานด้วยอินเตอร์เน็ต อย่าลืมให้เครดิตที่มาของแหล่งข้อมูล การ "คัดลอก" แล้ว "ตัดแปะ" ไม่ใช่วิธีการทำงานส่งครูที่ถูกต้องที่ควรให้คำแนะนำในส่วนนี้กับเด็กๆ เพื่อให้เขารู้จักการให้เกียรติเจ้าของผลงาน และรู้จักมารยาททางสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
  ติดตามวิธีการสร้างห้องเรียนออนไลน์ได้ในวารสารฉบับต่อไปค่ะ





ธรารัตน์  เย็นใจราษฎร์
ศึกษานิเทศก์ สพป.กพ.2